วันพฤหัสบดีที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2556

มาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษาแห่งชาติ



รายละเอียดของรายวิชา
ชื่อสถาบันอุดมศึกษา             มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา        วิทยาเขตสุรินทร์ คณะเทคโนโลยีการจัดการ

หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป

1.   รหัสและชื่อรายวิชา                         00-021-002             การจัดการความรู้ (Knowledge Management)
2.   จำนวนหน่วยกิต                              3 หน่วยกิต (3-0-6)
3.   หลักสูตร และประเภทของรายวิชา
                3.1 หลักสูตร                          หลากหลายหลักสูตร
                3.2 ประเภทของรายวิชา       วิชาศึกษาทั่วไป
4.   อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาและอาจารย์ผู้สอน
                ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธงชัย พาบุ
5. ภาคการศึกษา/ชั้นปีที่เรียน                ภาคเรียนใดก็ได้ / จัดให้เรียนในชั้นปีที่  4
6. รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน (Pre-requisites) (ถ้ามี)        ไม่มี
7. รายวิชาที่ต้องเรียนพร้อมกัน (Co- requisites) (ถ้ามี)     ไม่มี
8. สถานที่เรียน                                      มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน และวิทยาเขตในสังกัด
9. วันที่จัดทำหรือปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชาครั้งล่าสุด            1 พฤษภาคม  2555

หมวดที่ 2 จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์
1. จุดมุ่งหมายรายวิชา
                1.  เข้าใจทฤษฎีและกรอบแนวคิดเกี่ยวกับการจัดการความรู้
                2.  เข้าใจแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับองค์กรแห่งการเรียนรู้และการจัดการทุนทางปัญญา
3.  ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการความรู้
                3.  ประยุกต์ใช้แนวคิดทฤษฎีการจัดการความรู้ในองค์กรและบุคคล
                4.  มีเจตคติที่ดีและเห็นความสำคัญของการจัดการความรู้

2. วัตถุประสงค์ในการพัฒนา / ปรับปรุงรายวิชา
                1.  เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
                2.  เพื่อปรับปรุงรายวิชาให้ได้เกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ

หมวดที่ 3 ลักษณะและการดำเนินการ
1.   คำอธิบายรายวิชา
                แนวคิด หลักการ ทฤษฎี การจัดการความรู้ ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของการจัดการความรู้ แนวคิด ทฤษฎี และหลักการขององค์กรแห่งการเรียนรู้ การจัดการทุนทางปัญญา การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการความรู้ การประยุกต์ใช้การจัดการความรู้ในองค์กรและบุคคล

2.   จำนวนชั่วโมงที่ใช้ต่อภาคการศึกษา
                บรรยาย                  3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ 45 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษา
                สอนเสริม               ไม่มี
                การฝึกปฏิบัติ/งานภาคสนาม/การฝึกงาน            ไม่มี
                การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง 6  ชั่วโมงต่อสัปดาห์
3. จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่อาจารย์ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคล
                1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ นักศึกษาสามารถเข้าพบได้ วันจันทร์ และวันศุกร์ ตลอดเวลาราชการ

หมวดที่ 4 การพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักศึกษา
1. คุณธรรม จริยธรรม
                1.1 คุณธรรม จริยธรรม ที่ต้องพัฒนา
                                1.1.1 มีวินัยตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
                                1.1.2  มีคุณธรรมของความเป็นผู้นำและผู้ตาม
                                1.1.3  เคารพสิทธิ์และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมถึงเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
                1.2 วิธีการสอน
                                1.2.1 บรรยายเนื้อหา
                                1.2.2 อภิปรายร่วมกันในชั้นเรียน
                                1.2.3 มอบหมายให้นักศึกษาทำงานกลุ่มและนำเสนอในชั้นเรียน
                1.3 วิธีการประเมินผล
                                1.3.1 ประเมินจากการเข้าชั้นเรียน และพฤติกรรมในชั้นเรียน
                                1.3.2 ประเมินจากการตรงต่อเวลาในการส่งงานและประสิทธิผลของงาน
                                1.3.3 ประเมินจากการอภิปรายร่วมกันในชั้นเรียน
2.   ความรู้
                2.1 ความรู้ที่ต้องได้รับ
                                2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาที่ศึกษา
                                2.1.2 สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้องได้
                2.2 วิธีการสอน
                                2.2.1 บรรยาย
                                2.2.2 กำหนดประเด็นปัญหา
                                2.2.3 อภิปรายกลุ่ม
                2.3 วิธีการประเมินผล
                                2.3.1 ซักถาม
                                2.3.2 แบบทดสอบ
                                2.3.3 ประเมินจากผลงานที่ได้รับมอบหมาย
3.   ทักษะทางปัญญา
                3.1 ทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา
                                3.1.1 มีทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ
                                3.1.2 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
                3.2 วิธีการสอน
                                3.2.1 ให้วิเคราะห์กรณีศึกษา
                3.3 วิธีการประเมินผล
                                3.3.1 พิจารณาจากผลงานที่ได้รับมอบหมาย
4.   ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
                4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา
                                4.1.1 สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                                4.1.2 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งตนเองและสังคม
                                4.1.3 มีความรับผิดชอบในการทำงานที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม
                4.2 วิธีการสอน
                                4.2.1 กำหนดประเด็นปัญหา
                                4.2.2 อภิปรายผลระดมความคิด
                4.3 วิธีการประเมินผล
                                4.3.1 สังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วม
                                4.3.2 พิจารณาจากผลงาน
5.   ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
                5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ต้องพัฒนา
                                5.1.1 สามารถสืบค้นข้อมูลและค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมได้
                                5.1.2 สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
                5.2 วิธีการสอน
                                5.2.1 บรรยายและอภิปรายกลุ่มโดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม
                                5.2.2 นำเสนอผลงานในชั้นเรียนโดยใช้เทคโนโลยีสื่อที่เหมาะสม
                                5.2.3 มอบหมายให้ค้นคว้าเพิ่มเติม
                5.3 วิธีการประเมินผล
                                5.3.1 ประเมินผลจากการนำเสนอผลงานในชั้นเรียน การอภิปรายกลุ่ม
                                5.3.2 สังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมและการแสดงออกในการอภิปรายกลุ่มการใช้เทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ




หมวดที่ 5 แผนการสอนและการประเมินผล
1.  แผนการสอน
สัปดาห์ที่
หัวข้อ/รายละเอียด
จำนวนชั่วโมง
กิจกรรมการเรียนการสอนและสื่อที่ใช้
ผู้สอน
1
1. ความรู้ (Knowledge)
1.1 ความหมายของข้อมูล สารสนเทศ
     ความรู้ และปัญญา
1.2 ความสำคัญของความรู้
1.3 ประเภทของความรู้
1.4 ธรรมชาติของความรู้
3
บรรยายให้แนวคิด
Power point
Database
Website
ผศ.ดร.ธงชัยพาบุ
2
2. สังคมแห่งการเรียนรู้
2.1 ความหมายของสังคมแห่งการเรียนรู้
2.2 องค์ประกอบสำคัญของสังคมแห่งการ
      เรียนรู้
2.3 ลักษณะของบุคคลแห่งการเรียนรู้
2.4 หลักการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้
3
บรรยายให้แนวคิด
Power point
Database
Website

3
3. องค์กรแห่งการเรียนรู้
3.1 ความหมายขององค์กรแห่งการเรียนรู้
3.2 แนวคิดและหลักการขององค์กรแห่ง
      การเรียนรู้
3.3 ลักษณะสำคัญขององค์กรแห่งการ
      เรียนรู้
3
บรรยาย พร้อมยกตัวอย่างเพื่อให้เข้าใจง่าย

4
3.4 ปัจจัยและองค์ประกอบที่ทำให้เกิด
      องค์กรแห่งการเรียนรู้
3.5  การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้
3
บรรยายให้แนวคิด อภิปราย
Power point
Database
Website

5
4. การจัดการความรู้
4.1 ความหมายของการจัดการความรู้
4.2 ความสำคัญของการจัดการความรู้
4.3 ความเป็นมาของการจัดการความรู้
4.4 องค์ประกอบของการจัดการความรู้
3
บรรยายให้แนวคิด อภิปราย
Power point
Database
Website

6
5. กระบวนการจัดการความรู้
5.1 แนวคิดกระบวนการจัดการความรู้
5.2 การบริหารการเปลี่ยนแปลง
5.3 กระบวนการจัดการความรู้ในองค์กร
5.4 วงจรการจัดการความรู้
3
บรรยายให้แนวคิด อภิปราย
Power point
Database
Website

7
6. ทฤษฎีการจัดการความรู้
6.1 Model of  Organizational 
        epistemology
 6.2 Nonaka and Takeuchi Knowledge
        Spiral Model
 6.3  Choo Sense- making  KM  Model
3
บรรยายให้แนวคิด อภิปราย
Power point
Database
Website

8
6.4 Wigg Model
6.5 Boisot KM Model
6.6 Tuna Model
6.7 Tapein Model
6.8 New KM model
3
บรรยายให้แนวคิด อภิปราย
Power point
Database
Website

9
สอบกลางภาค
3


10
7. ปัจจัยความสำเร็จของการจัดการความรู้
7.1 ปัจจัยความสำเร็จของการจัดการ
      ความรู้
7.2 การจัดการทุนทางปัญญา
3
บรรยาย  อภิปรายกลุ่ม นำเสนอแนวคิด

11
8. เครื่องมือการจัดการความรู้
8.1 เครื่องมือการสร้างและจับความรู้

3


12
8.2 เครื่องมือในการแลกเปลี่ยนและการ
      กระจายความรู้
3


13
8.3 เครื่องมือในการจัดหาและการใช้
      ความรู้
3


14
9. เทคโนโลยีกับการจัดการความรู้
9.1 บทบาทของเทคโนโลยีกับการจัดการ
     ความรู้
9.2 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
      และการสื่อสารในการจัดการความรู้
9.3 การสร้างทีมจัดการความรู้
9.4 กลยุทธการจัดการความรู้ในองค์กร
3


15
10. การประเมินผลการจัดการความรู้
10.1 รูปแบบการประเมินผลการจัดการ
        ความรู้
10.2 กระบวนการประเมินผลการจัดการ
        ความรู้



16
11. กรณีศึกษาการจัดการความรู้ภาคปฏิบัติ
11.1 กรณีศึกษางานวิจัยด้านการจัดการ
        ความรู้
3


17
11.2 กรณีศึกษาการจัดการความรู้
        ภาคปฏิบัติในองค์กร
3


18
สอบปลายภาค
3



2. แผนการประเมินผลการเรียนรู้
กิจกรรมการประเมิน
สัดส่วนคะแนน
1. แบบฝึกหัดและกิจกรรมการเรียนรู้
10 %
2. การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
     1) สังเกตพฤติกรรมกลุ่มโดยอาจารย์ 5 %
     2) ประเมินพฤติกรรมในการทำงานกลุ่มโดยนักศึกษา 5 %
10 %
3. งานมอบหมาย
     1) ความก้าวหน้าในการจัดทำ 5 %
     2) การนำเสนอ 5%
     3) รูปเล่มรายงาน 20 %
30 %
4. การสอบ
     1) ทดสอบย่อย 10 %
     2) สอบกลางภาค 20 %
     3) สอบปลายภาค 20 %
50 %
รวม
100 %


หมวดที่ 6 ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน

1.   หนังสือ ตำรา และเอกสารประกอบการสอนหลัก
กีรติ ยศยิ่งยง. (2549). การจัดการความรู้ในองค์กรและกรณีศึกษา. กรุงเทพฯ : มิสเตอร์ก๊อปปี้.
โกศล ดีศีลธรรม. (2545). การจัดการความรู้ในโลกแห่งเศรษฐกิจยุคใหม่. Industrial Technology Review,
(101), 156-162
ชัชวาล วงษ์ประเสริฐ. (2548). การจัดการความรู้ในธุรกิจ. กรุงเทพฯ : เอ็กเปอร์เน็ท.
บดินทร์ วิจารณ์. (2547). การจัดการความรู้สู่ปัญญาประดิษฐ์. กรุงเทพฯ : เอ็กเปอร์เน็ท.
บุญดี บุญญากิจ และคณะ. (2547). การจัดการความรู้จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : จิรวัฒเอ็กซ์เพลส.
บูรชัย ศิริมหาสาคร. (2550). จัดการความรู้สู่ความเป็นเลิศ. กรุงเทพฯ : แสงดาว.
บูรชัย ศิริมหาสาคร และพัดชา กวางทอง. (2552). สรรพวิธีจัดการความรู้สู่องค์กรอัฉริยะ. กรุงเทพฯ :
ธาราดร จินดาวงษ์. (2549). การจัดการความรู้. กรุงเทพฯ : ซีดับบลิวซ์ พริ้นติ้ง.
วิจาร พานิช. การจัดการความรู้ฉบับนักปฏิบัติ. กรุงเทพฯ :  
สุวรรณ เหรียญเสาวภาคย์ และคณะ. (2548). การจัดการความรู้. กรุงเทพฯ : ก.พลพิมพ์.
Etienne Wanger, Richard  McDernott & William M. Snyder. (2002). Cultivating Community of 
Practice. London : Harvard Business School.  
2.  ข้อมูลอ้างอิงที่สำคัญ
                www.kmi.or.th
                www.tkc.or.th
                www.gotoknow.org
3.  หนังสือ เอกสาร หรือข้อมูลอ้างอิงที่แนะนำ
                งานวิจัยด้านการจัดการความรู้ในฐานข้อมูล http//:www.tdc.thailis.or.th

หมวดที่ 7 การประเมินและการปรับปรุงการดำเนินการของรายวิชา

1.   การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา
                1.1 อธิบายให้นักศึกษาเข้าใจเหตุผลในการปรับปรุงรายวิชาที่สอนจากการเรียนการสอนในภาคการศึกษาที่ผ่านมา และให้นักศึกษาเห็นความสำคัญของการประเมินประสิทธิผลของรายวิชา
                1.2 ส่งเสริมให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนการสอน และการพัฒนารายวิชาโดยใช้แบบประเมิน

2.   การประเมินการสอน
                อาจารย์ผู้สอนจัดทำบันทึกการสอน เพื่อการประเมินการสอนของตนเอง และพิจารณาผลการทำงานและการเรียนของนักศึกษาเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุง แก้ไขรายวิชาต่อไป

3.   การปรับปรุงการสอน
                3.1 ประมวลความคิดเห็นของนักศึกษาจากแบบประเมิน
                3.2 ปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชาให้เหมาะสมกับการจัดการเรียนการสอนในภาคการศึกษาต่อไป

4.  การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา
                4.1 แสดงตัวอย่างการประเมินผลในรายวิชา
                4.2 แสดงหลักฐานการให้คะแนนในรายวิชา และคะแนนรายงานของนักศึกษา

5.   การดำเนินการทบทวนและวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา
                นำข้อเสนอแนะของนักศึกษาตามข้อ 1 มาประมวลเพื่อนำไปปรับปรุงรายวิชาที่สอน





แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
• ความรับผิดชอบหลัก                         o ความรับผิดชอบรอง
รายวิชา
1. คุณธรรม จริยธรรม
2. ความรู้
3. ทักษะทางปัญญา
4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารฯ
1
2
3
4
5
1
2
3
1
2
3
1
2
3
4
1
2
3
4
00*021*002 การจัดการความรู้ (Knowledge Management)
-
-
-
-
-
o
o
-
o
o
-
-
-
o

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น