วันศุกร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2556

บทนำ



จุดประสงค์การเรียนรู้ 
        1.1 รู้ความหมายของข้อมูล สารสนเทศ ความรู้ และปัญญา
        1.2 รู้ประเภทของความรู้
        1.3 เข้าใจลักษณะของสังคมแห่งการเรียนรู้ 
ความหมายของข้อมูล สารสนเทศ และความรู้
         Ackoff.  (1989) จำแนกความรู้ความเข้าใจของมนุษย์ออกเป็น 5 ระดับ คือ
1. ข้อมูล (Data)
2. สารสนเทศ (Information)
3. ความรู้ (Knowledge)
4. ปัญญา (Wisdom)
        ข้อมูล ประกอบด้วย ตัวหนังสือ ข้อเท็จจริง รูปภาพที่สื่อความหมายและรหัสตัวเลขต่างๆ ที่ปราศจากบริบทและยังไม่มีความหมาย
        สารสนเทศ หมายถึง หมายถึง ข้อมูลซึ่งเต็มไปด้วยบริบทและความหมาย ซึ่งรูปแบบและเนื้อหาของมันสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานได้หลังจากที่ได้ผ่านการจัดรูปแบ  จัดประเภทและประมวลผลแล้ว
        ความรู้ (Knowledge) ประกอบด้วย สาระ หลักการ และประสบการณ์ ซึ่งสามารถชี้แนะแนวทาง ในการดำเนินการ การบริหารงานการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ โดยความรู้ทำให้คนสามารถให้ความหมายแก่ข้อมูล และสร้างเป็นสารสนเทศได้ เมื่อมีความรู้ คนก็สามารถจะจัดการกับแห่งสารสนเทศที่มีอยู่และปฏิบัติงานได้อย่างชาญ ฉลาด
      ปัญญา (Wisdom) คือ ความรู้ ความเข้าใจ ที่สามารถประพฤติปฏิบัติได้ และสามารถใช้ความรู้ ความเข้าใจ ในแขนงวิชาหรือศาสตร์ใดใด เพื่อการทำงานหรือประกอบกิจกรรมใดใดก็ได้ เป็นทักษะ ความรู้ ความสามารถ ที่บุคคลบูรณาการการเรียนรู้ การสั่งสมประสบการณ์จนก่อให้เกิดความรู้ฝังลึกในบุคคลกลายเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ เป็นปราชญ์ชาวบ้าน หากบุคคลใดมีปัญญาสูงส่งย่อมเป็นบุคคลที่ต้องใช้ความเพียรอย่างสูง ตัวอย่างของผู้มีปัญญาขั้นสูงสุด คือ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งพระองค์ตรัสรู้ได้โดยพระองค์เอง พระศาสดาในศาสนาต่างๆ รวมทั้งพระอรหันต์ พระเกจิอาจารย์ นักปราชญ์ราชบัณฑิต ปราชญ์ชาวบ้าน เป็นต้น  
       ความรู้ได้กลายเป็นทรัพยากรที่มี ความสำคัญมากกว่าทรัพย์สินทางด้านการเงิน ตำแหน่งทางการตลาด เทคโนโลยี หรือสินทรัพย์อื่นๆขององค์การใน โลกของการทำงานปัจจุบัน ความรู้เป็นทรัพยากรหลักในการทำงานของทุกองค์การ จารีตประเพณี วัฒนธรรม เทคโนโลยี การปฏิบัติการ ระบบและขั้นตอนต่างๆ ขององค์การนั้นล้วนมีพื้นฐานมาจากความรู้และความชำนาญทั้งสิ้น (Thomas Stewart (2540, อ้างถึงในไม มาร์คอร์ช, 2549)
         ดาเวนพอร์ท, (2541, อ้างถึงในพรธิดา วิเชียรปัญญา, 2547) ได้ให้ความหมายว่าความรู้ หมายถึง ส่วนผสมของกรอบประสบการณ์ คุณค่า สารสนเทศ ที่เป็นสภาพแวดล้อมและกรอบการทำงานสำหรับการ ประเมิน และรวมกันของประสบการณ์และสารสนเทศใหม่
         ดาเวนพอร์ท, (2542) ได้ให้ความหมายว่าความรู้ คือ กรอบของการประสมประสาน ระหว่างประสบการณ์ ค่านิยม ความรอบรู้ในบริบท และความรู้แจ้งอย่างช่ำชอง เป็นการประสมประสานที่ให้กรอบ สำหรับการประเมินค่า และการนำเอาประสบการณ์กับสารสนเทศใหม่ๆ มาผสมรวมเข้าด้วยกัน มันเกิดขึ้นและถูก นำไปประยุกต์ในใจของคนที่รู้ สำหรับในแง่ขององค์กรนั้น ความรู้มักจะสั่งสมอยู่ในรูปของเอกสาร หรือแฟ้มเก็บเอกสารต่างๆ รวมไปถึงสั่งสมอยู่ในการทำงาน อยู่ในกระบวนการ อยู่ในการปฏิบัติงานและอยู่ในบรรทัดฐานขององค์กรนั่นเอง
       พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ได้ให้คำนิยามไว้ว่า ความรู้ คือ สิ่งที่สั่งสมมาจาก การศึกษาล่าเรียน การค้นคว้าหรือประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติและทักษะความเข้าใจหรือสารสนเทศ ที่ได้รับมาจากประสบการณ์ สิ่งที่ได้รับมาจากการได้ยิน ได้ฟัง การคิด หรือการปฏิบัติองค์วิชาในแต่ละสาขา ความรู้ที่เกิดขึ้นเมื่อมีการนำไปใช้แล้วจะมีการต่อยอดให้เกิดความรู้ใหม่ขึ้นไปเรื่อย ๆ จากการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนแบ่งเป็นความรู้
       วิจารณ์ พานิช (2548) ได้กล่าวว่า ความรู้นั้นมีหลายนัยและมิติ คือ ความรู้ คือ สิ่งที่นำไปใช้จะไม่หมด หรือสึกหรอแต่จะงอกเงยหรืองอกงามขึ้น ความรู้ คือ สารสนเทศที่นำไปปฏิบัติ ความรู้เกิดขึ้น ณ จุดที่ต้องการใช้ความรู้นั้น ความรู้เป็นสิ่งที่ขึ้นกับบริบทและกระตุ้นให้เกิดขึ้นได้โยความต้องการ ซึ่งในยุคแรกๆของการพัฒนาศาสตร์ด้านการจัดการความรู้ มองว่าความรู้มาจากการจัดระบบ และตีความสารสนเทศ (Information) ตามบริบท ซึ่งสารสนเทศก็ได้มาจากการประมวลข้อมูล (Data) ดังนั้นความรู้จะ ไม่มีประโยชน์เลย ถ้าไม่นำไปสู่การกระทำหรือตัดสินใจ
        Yamazaki (2543, อ้างถึงใน, Nonaka and Takeuchi, 2534) ได้ให้คำจำกัด ความของความรู้อยู่ในรูปของปิรามิด ซึ่งให้ความหมายของข้อมูล คือ ข้อเท็จจริง เป็นข้อมูลที่ยังไม่ได้ผ่าน กระบวนการแปลความ ส่วนสารสนเทศเป็นข้อมูลที่ได้จากการสังเคราะห์ วิเคราะห์เพื่อนำมาใช้ในการตัดสินใจโดยเกิดจากความเชื่อ สามัญสำนึกหรือจากประสบการณ์ของผู้ใช้ แต่ ความรู้ คือสารสนเทศที่ผ่านกระบวนการคิด เปรียบเทียบกับความรู้อื่นจนเกิดเป็นความเข้าใจและนำไปใช้เพื่อเป็นประโยชน์หรือเป็นทางเลือกในการตัดสินใจใน สถานการณ์ต่างๆไม่จำกัดเวลาสามารถสรุปได้ว่าสารสนเทศให้ประโยชน์ในการเป็นตัวเลือกและปัญญา คือ ความรู้ที่ อยู่ภายในตัวของคนเราสามารถแยกแยะออกได้ในการตัดสินใจที่จะเลือกตัวเลือกใดตัวเลือกหนึ่ง เพื่อก่อให้เกิด ประโยชน์กับเรามากที่สุด
         Dawenport, (2542) กล่าวว่า ความรู้ คือ ส่วนที่ผสมของประสบการณ์ ข้อมูลใหม่ๆ ได้ก่อให้เกิดความชำนาญการณ์อย่างแท้จริง ที่ก่อร่างและเกิดขึ้นอยู่ภายในตัวบุคคล ซึ่งความรู้มันไม่ได้เกิดขึ้นอยู่ ภายในตัวเอกสารหรือเกิดขึ้นเฉพาะในคลังความรู้ขององค์กรเท่านั้น แต่ความรู้นั้นเป็นเพียงความจริงที่เกิดโดย ส่วนตัวของบุคคลที่สั่งสมจากประสบการณ์ต่างๆ ทั้งหลาย ที่รวบรวมเป็นความรู้ที่ใช้เพื่อตัดสินใจในการปฏิบัติจริง ของแต่ละบุคคล

ประเภทของความรู้
         Polanyi และ Nonaka (1995) ได้แบ่งความรู้ออกเป็น 2 ประเภท คือ Tactic Knowledge และ Explicit Knowledge อธิบายได้ดังนี้
         1. Tacit Knowledge คือ ความรู้ที่ได้มาจากประสบการณ์และไม่สามารถบรรยายเป็นถ้อยคำ หรือ สูตร และขึ้นอยู่กับความรู้ ความเชื่อ รวมทั้งทักษะเชิงวิชาการของบุคคลที่จะกลั่นกรองความรู้ที่ได้ ความรู้ชนิดนี้ พัฒนาและแบ่งปีนกันได้และเป็นความรู้ที่จะทำให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขันได้
         2.  Explicit Knowledge คือ ความรู้ที่เป็นเหตุและผลที่สามารถจะบรรยาย/ถอดความออกมาได้ ใน รูปของทฤษฎี การแก้ไขปัญหา คู่มือ และฐานข้อมูลที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้
         Nonaka and Takeuchi (2538) กล่าวว่า ความรู้ถูกสร้างขึ้นผ่านกระบวนการ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างความรู้ฝังลึกในคน (Tacit Knowledge) กับความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) โดยผ่านวิธีการ ปรับเปลี่ยนความรู้ 4 ขั้นตอน หรือที่เรียกว่าวงจร เซกิ (SECI) คือ
         วิธีการปรับเปลี่ยนความรู้ใน 4 ลักษณะ ได้แก่
               1.  การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Socialization)
               2.  การผนวกรวมความรู้ (Combination)
               3.  การฝังหรือผนึกความรู้ (Internalization)
               4.  การสกัดความรู้ฝังลึกในคนออกมาเป็นความรู้ชัดแจ้ง (Externalization)
         ใน 4 ลักษณะนี้วิธีที่ 1-3 เป็นวิธีที่นิยมใช้เป็นมุมมองในการกล่าวถึงของทฤษฎีองค์การ (Organizational Theory) ส่วนวิธีที่ 4 มักจะไม่ได้รับความสนใจมากนัก โดยรายละเอียดของวิธีการปรับเปลี่ยนความรู้ใน 4 ลักษณะเป็น ดังนี้
         1. Socialization (From Tacit to Tacit) เป็นกระบวนการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ข้อคิดเห็น ความเชื่อ วิธีการ ฯลฯ ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้และสร้างความรู้ในรูปแบบที่เรียกว่า Tacit Knowledge มี ลักษณะของการแบ่งปีนทักษะความชำนาญซึ่งเป็นตัวแบบที่อยู่ในจิตใจ นอกจากการใช้ภาษา เป็นการเรียนรู้ผ่านการ สังเกต การเลียนแบบ และแกปฏิบัติ ซึ่งในองค์กรธุรกิจใช้หลักการเดียวกันนี้ในวิธีการเรียนรู้จากการทำงานที่ทำอยู่ (On-the-job training) เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ไม,ได้เกิดจากการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เพราะเป็นการยากที่จะ ถ่ายทอดวิธีคิดที่มีลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคลไปสู่คนอื่น ดังนั้นการส่งผ่านสารยังผู้รับจึงมักเป็นเพียงสัมผัสเล็กๆ (Little sense) ที่สามารถถอดรหัสได้จากช่วงอารมณ์ บรรยากาศ และบริบทที่มีลักษณะเฉพาะ ที่ทำให้ประสบการณ์ นั้นประทับและฝังลึกลงไปในจิตใจข้างใน
         2.  Externalization (From Tacit to Explicit) เป็นกระบวนการแลกเปลี่ยนความรู้ในรูปแบบของ Tacit Knowledge ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ที่ฝังลึกในตัวบุคคล ไปเป็นความรู้ที่ผู้อื่นสามารถเข้าถึงได้ให้อยู่ใน รูปแบบที่สามารถถ่ายทอดให้เข้าใจได้ง่าย รวมทั้งสามารถเก็บเป็นความรู้ขององค์กรได้ เช่น เปลี่ยนความรู้หรือ ทักษะให้อยู่ในรูปแบบของรูปภาพ แผนผัง ฟังก์ชั่น สมการ คำอุปมาอุปมัย แนวความคิด สมมติฐาน เป็นต้น ซึ่ง อาจทำไต้โดยการแบ่งกลุ่มสนทนา จับกลุ่มคุยเพื่อหาความคิดใหม่ เป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเป็นกลุ่ม โดยปกติเรา มักจะเอาหลักการ (Conceptualization) ของภาพที่อยู่ในใจออกมาให้เป็นภาษาเขียน แต่ถึงแม้ว่าเราเพียงแค่พยายาม นำเสนอภาพในใจออกมาให้เป็นคำพูด เรายังรู้สึกว่ายังไม'พึงพอใจ ยังไม่สอดคล้อง และยังไม่เพียงพออยู่เสมอ เพราะมันเป็นการไม่ลงรอยกันและมีช่องว่างระหว่างภาพในใจกับคำพูดที่นำเสนอออกมานั้น อย่างไรก็ตามกระบวนการเปลี่ยนความรู้ในรูปแบบนี้ได้ช่วยให้เกิดการสะท้อนภาพกลับ (Reflection) และสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่าง บุคคล ซึ่งเป็นกระบวนการสร้างความคิดรวบยอด (Concept) ที่ได้รับการกระตุ้นจากการสนทนา หรือการสะสมภาพ สะท้อนกลับเหล่านั้นเอง
         3.  Combination (Form Explicit to Explicit) เป็นกระบวนการรวมความรู้ในแขนงต่างๆ กันเข้า ด้วยกันเพื่อก่อให้เกิดการสร้างความรู้ใหม่ ซึ่งเป็นกระบวนการเปลี่ยนความรู้ในรูปแบบ Explicit to Explicit เป็น การนำความรู้ชัดแจ้งที่มีอยู่มากมายหลากหลายมาจัดระบบให้เป็นแนวคิด ที่นำไปสู่การก่อตัวของระบบความรู้ วิธีการเปลี่ยนความรู้ในรูปแบบนี้ได้รวมถึงการผนวกเอาองค์ความรู้ที่แตกต่างกันโดยการรวบรวมบันทึกเอกสาร การ ประชุม การสนทนาโทรศัพท์ การสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นต้น เพื่อเป็นการก่อร่างขึ้นใหม่ของ สารสนเทศที่มีอยู่แล้ว ผ่านการจัดเรียง เพิ่มเติม ผนวกรวมเข้าด้วยกัน และแยกแยะหมวดหมู่ของความรู้ชัดแจ้ง (ตัวอย่างเช่น การจัดทำฐานข้อมูลในคอมพิวเตอร์) นำไปสู่การสร้างความรู้ใหม่ที่ยกระดับเพิ่มมากขึ้น ความรู้ในชั้น นี้จะอยู่ในรูปแบบที่เผยแพร,ข้อมูลได้กว้างขวาง ซึ่งการสร้างความรู้ในระบบการศึกษา และการแกอบรม ก็จะใช้ กระบวนการเปลี่ยนความรู้ในรูปแบบนี้ ในองค์กรธุรกิจนั้นการผนวกรวมความรู้โดยปกติแล้วจะเห็นได้ในการทำงาน ของผู้บริหารระดับกลางที่แปรหรือย่อยเอาวิสัยทัศน์ แนวทางธุรกิจ หรือแนวคิดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ เพื่อนำไป ปฏิบัติงานให้บรรลุตามที่องค์กรคาดหวัง ซึ่งการบริหารจัดการระดับกลาง ( Middle Management ) เป็นบทบาท สำคัญในการสร้างแนวความคิดใหม่ๆ โดยการประมวลผล จัดระบบให้เป็นหมวดหมู่ของสารสนเทศและความรู้ที่มี อยู่แล้ว
         4. Internalization (From Explicit to Tacit) เป็นกระบวนการเรียนรู้จากการกระทำซึ่งเป็นการ เปลี่ยนความรู้ให้อยู่ในรูปของเอกสาร หรือให้อยู่ในรูปของทักษะหรือความสามารถของบุคคล กลับมาเป็นความรู้ฝัง ลึกในตัวบุคคล เป็นกระบวนการเปลี่ยนความรู้ในรูปแบบของ Explicit to Tacit ซึ่งเป็นการนำเอาความรู้ที่ได้อ่าน หรือความรู้ที่มีคนสอนไปลองปฏิบัติให้เกิดความเชี่ยวชาญเป็น รู้จริง ใกล้เคียงกับคำว่า Learning by Doing เมื่อ ประสบการณ์ไต้ผ่านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Socialization) การสกัดเอาความรู้ออกมาจากตัวตน (Externalizations) และการผนวกรวมความรู้ (Combination) จากนั้นก็ประทับฝังความรู้นั้นไว้กลับมาเป็นความรู้ฝังลึกในตัวบุคคล (ปัจเจก) ที่อยู่บนฐานของการแบ่งปีนทักษะความชำนาญตามตัวแบบที่มีอยู่ในจิตใจ และกลายเป็นทรัพย์สินที่มีค่า ซึ่งการสะสมความรู้ฝังลึกในตัวบุคคลนี้จำเป็นต้องมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสมาชิกคนอื่นในองค์กร เพื่อให้เกิดการ เรียนรู้เป็นความรู้ฝังลึกที่ยกระตับขึ้นไปในตัวบุคคลที่กลายเป็นชุดเริ่มต้นใหม่ของวงจรการสร้างความรู้แบบ เซกิ (SECI) นี้ใหม่อีกครั้ง กระบวนการเปลี่ยนความรู้ในรูปแบบ Explicit to Tacit นี้จะมีประโยชน์ล้าความรู้นั้น สามารถถ่ายทอดเป็นคำพูด หรือจัดทำเป็นแผนภาพ บันทึกลงในเอกสาร คู่มือ หรือเรื่องเล่าก็ได้ ซึ่งการบันทึกเป็น เอกสารนี้จะช่วยให้เกิดการประทับความรู้เข้าไปในตัวบุคคลด้วยเช่นกัน เพราะจะทำให้เขาได้รู้ว่าตัวเองผ่าน ประสบการณ์อะไรมาบ้างซึ่งเป็นการเพิ่มคุณค่าให้แก่ความรู้ฝังลึกที่มักอยู่ในตัวบุคคลด้วย

ระดับความรู้ (Levels of Knowledge)
         ตามแนวคิดของ Quinn (อ้างถึงในสำนักงาน ก.พ.ร และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ, 2548) แบ่งความรู้เป็น 4 ระดับ ได้แก่
               ระดับที่ 1 รู้ว่าคืออะไร (Know - what) เป็นความรู้เชิงรับรู้ หรือ ความรู้ที่ได้รับมาจากการเรียน เห็น หรือจดจำ มีลักษณะเป็นความรู้ในภาคทฤษฎีว่า สิ่งนั้นคืออะไร
               ระดับที่ 2 รู้ว่าเป็นอย่างไร/รู้วิธีการ (Know - how) เป็นความสามารถในการนำความรู้ไป ประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติให้เข้ากับสภาพแวดล้อม
               ระดับที่ 3 รู้ว่าทำไม/รู้เหตุผล (Know - why) เป็นความสามารถในการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ใน การปฏิบัติให้เข้ากับสภาพแวดล้อม
               ระดับที่ 4 ใส่ใจกับเหตุผล (Care - why) เป็นความรู้ในลักษณะการสร้างสรรค์ที่มาจากตัวเอง บุคคลที่มีความรู้ในระดับนี้จะมีเจตจำนง    และการปรับตัวเพื่อความสำเร็จ        ดังนั้นในการจัดการความรู้องค์การต้องคำนึงถึงระดับของความรู้เพื่อก่อให้เกิดการบรรลุผลด้วย
         Wiig (2540, อ้างถึงในสำนักงาน ก.พ.ร และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ, 2548) ได้แยกความ แตกต่างของความรู้ออกเป็น
         การตั้งเป้าหมายหรืออุดมคติ (Goal-setting Idealistic) วิสัยทัศน์ โดยรู้ว่าทำไปทำไม (Care -why) หรือความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ ด้วยการชี้นำตนเอง
         ความเป็นระบบ (Systematic) คือ รู้ว่า ทำไม (Know - why) ซึ่งเป็นความรู้ที่จะเข้าใจในระบบ
ต่างๆ
         การนำไปปฏิบัติ (Pragmatic) คือ รู้ว่า ทำอย่างไร (Know - how) ซึ่งเป็นความรู้ในวิธีที่จะทำ
ให้เกิดทักษะขันสูง
         กลวิธี (Automatics Tacit) คือ รู้ว่า อะไร (Know - what) ซึ่งเป็นความรู้สำหรับใช้ในการ
ทำงานประจำวัน
         ความชำนาญ (Expertise) คือ การประยุกต์ใช้ความรู้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิผล เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายและเพื่อปรับปรุงผลการปฏิบัติงาน
         ความสามารถ (Capability) ประกอบด้วย การใช้กำลังความสามารถและความชำนาญขององค์การ ในการสร้างผลิตภัณฑ์และบริการ หรือกระบวนการในผลการปฏิบัติงานขันสูง โดยความสามารถนี้ต้องอาศัยการบูรณาการ ความร่วมมือและประสานงานของบุคคลและทีมงานทุกคน ความสามารถไม่ได้เป็นแค่ผลการปฏิบัติงานใน ปัจจุบันเท่านั้น แต่มันคือความสามารถที่จะเรียนรู้ สร้างสรรค์ และสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ให้กับองค์กร
         จากการสำรวจหน่วยงานที่เป็นเลิศจำนวน 400 บริษัท โดยสำนักงาน ก.พ.ร. และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ (2548) พบข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับแหล่งเก็บความรู้ในองค์การหรือคลังความรู้ ดังนี้
 1.  ความรู้ที่อยู่ในตัวคน (สมอง) 42% ความรู้ส่วนใหญ่ขององค์การจะเป็นความรู้ที่อยู่กับตัวคน เป็นทักษะ เป็นความเชี่ยวชาญ เป็นความสามารถของพนักงานขององค์การ ความรู้ในส่วนนี้เรียกว่าความรู้ฝังลึกในคน (Tacit Knowledge)
2.  ความรู้ที่อยู่ในรูปแบบเอกสาร (กระดาษ) 26% เป็นส่วนที่ถูกจัดเก็บไว้ในรูปของเอกสาร หรือกระดาษ เช่น หนังสือ วารสารและสิ่งพิมพ์ต่างๆ เป็นความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge)
3.  ความรู้ที่อยู่ในรูปเอกสารอีเล็กทรอนิกส์ (Electronic) 20% ความรู้เหล่านี้เป็นความรู้ชัดแจ้งอีกรูปแบบหนึ่งจะถูกจัดเก็บในรูปเอกสารอีเล็กทรอนิกส์ เช่น E-book, E-journal เป็นต้น
          4.  ฐานข้อมูลความรู้ (Knowledge Base, IT) 12% ความรู้บางส่วนจะจัดเก็บไว้ในฐานข้อมูลอีเล็กทรอนิกส์เฉพาะทางของหน่วยงาน หรือฐานข้อมูลเฉพาะเรื่อง เช่น ฐานข้อมูลทางการเกษตร ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย และฐานข้อมูลทางพาณิชย์ เป็นต้น 


 ความสัมพันธ์ของ ข้อมูล สารสนเทศ ความรู้ และปัญญา 
 
          จากภาพ ข้อมูล คือข้อเท็จจริง ข้อมูลดิบ หรือตัวเลขที่ยังไม่ผ่านการประมวลผล ตีความหมาย หรือแปลความใดๆ เมื่อรวบรวมข้อมูลมาได้มาผ่านกระบวนการวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประมวลผลทำให้สามารถเข้าใจได้ง่ายขึ้นแล้วจะกลายเป็นสารสนเทศที่สามารถนำไป ใช้ประโยชน์ในการแก้ปัญหาหรือตัดสินใจในช่วงเวลาที่จำกัดและในขอบข่ายของงาน สูงขึ้นไปจะเป็นความรู้ คือ กระบวนการทำความเข้าใจสารสนเทศด้วยการเปรียบเทียบเชื่อมโยงให้เห็นความ สัมพันธ์ของสารสนเทศจนสามารถนำไปสู่ความรู้เพื่อใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจ โดยสารสนเทศนั้นโดยไม่จำกัดช่วงเวลา และปัญญา คือความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวคน เกิดจากการสั่งสมข้อมูล สารสนเทศ และความรู้จนกลายเป็นทักษะความชำนาญและความสามารถในการนำไปใช้ประโยชน์ 

สังคมแห่งการเรียนรู้ (Learning-based society )
มีผู้รู้หลายท่านได้ให้ความหมายของสังคมแห่งการเรียนรู้ ไว้ดังนี้ 
กุลธร เลิศสุริยะกุล,  (ม.ป.ป.) สังคมแห่งการเรียนรู้ เป็นสังคมแห่งภูมิปัญญา ตระหนักถึงความสำคัญ ความจำเป็นของการเรียนรู้ที่ทุกคนและทุกส่วนในสังคมมีความใฝ่รู้และพร้อมที่จะเรียนรู้อยู่เสมอ การเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นและมีความต่อเนื่องเป็นปกติวิสัยในชีวิตประจำวันของคนทุกคน ไปจนตลอดสิ้น อายุขัย เป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นได้ในทุกเวลา ทุกสถานที่ของคนทุกคนในทุกสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
         Source for Agri-business emu., (2550) สังคมแห่งการเรียนรู้ หมายถึง กระบวนการทางสังคมที่เกื้อหนุนส่งเสริมให้บุคคล หรือสมาชิกในชุมชน สังคมเกิดการเรียนรู้ โดยผ่านสื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ แหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ จนสามารถสร้างความรู้ ทักษะ ระบบการจัดการความรู้ และระบบการเรียนรู้ที่ดี มีการถ่ายทอดความรู้ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันทุกภาคส่วนในสังคม ทำให้เกิดพลังสร้างสรรค์และทำให้ความรู้เป็น เครื่องมือในการเลือกและตัดสินใจเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาอย่างเหมาะสมทังทาง ด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง  
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ (2546) ได้เปรียบเทียบพัฒนาการของสังคมเป็นเสมือนคลื่นดังนี้ คลื่นลูกที่ 1 สังคมเกษตรกรรม คลื่นลูกที่ 2 สังคมอุตสาหกรรม คลื่นลูกที่ 3 สังคมแห่งเทคโนโลยี คลื่นลูกที่ 4 สังคมความรู้ คลื่นลูกที่ 5 ปราชญ์สังคม โดยให้เหตุผลว่า ในปัจจุบันหลายประเทศก้าวเข้าสู่คลื่นลูกที่ 3 สังคมแห่งเทคโนโลยีที่เต็มไปด้วย ข้อมูลข่าวสาร จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องให้ความรู้แก่คนในสังคมให้รู้จักการคัดเลือกข้อมูล ข่าวสารที่มีอยู่ อย่างมากมาย มาใช้ให้เกิดประโยชน์ เพื่อการก้าวไปสู่คลื่นลูกที่ 4 สังคมความรู้ ที่ผู้คนในสังคม ต้องเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ มีความใฝ่รู้ และพร้อมที่จะเรียนรู้อยู่เสมอ 
องค์ประกอบของสังคมแห่งการเรียนรู้ การเสริมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้เป็น กระบวนการสำคัญที่จะต้องเร่งดำเนินการ เพื่อประกันโอกาสให้คนไทยทุกคนมีสิทธิและความเสมอภาคในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยการพัฒนาองค์ประกอบที่สำคัญของสังคมแห่งการ เรียน 4 องค์ประกอบด้วยกันคือ (กุลธร เลิศสุริยะกุล, ม.ป.ป.)
องค์ประกอบที่หนึ่ง : การพัฒนาทักษะความสามารถในการเรียนและการแสวงหาความรู้เพื่อให้ประชาชนโดยรวมเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ มีความตระหนักถึงความสำคัญและ ความจำเป็นของการเรียนรู้ มีความใฝ่รู้ สามารถสร้างกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง มีทักษะ กระบวนการคิด วิเคราะห์ และแก้ปัญหา สามารถใช้ความรู้ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ตลอดจนมีโอกาส และสามารถเลือกที่จะเรียนเอย่างต่อเนื่องตลอดช่วงอายุแต่ละวัย ด้วยรูปแบบที่หลากหลาย ยืดหยุ่น และมีคุณภาพตามความต้องการ ความสนใจและความถนัด
องค์ประกอบที่สอง : พัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อให้มีแหล่งเรียนรู้อย่างพอเพียง หลากหลาย ทั่วถึงครอบคลุมประชากรทุกพื้นที่ ทุกกลุ่มเป้าหมาย พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ แหล่งการเรียนรู้ทุกประเภท ทุกระดับที่เป็นปัจจุบัน และเป็นระบบเปิด รวมทั้งการจัดระบบเครือข่ายเชื่อมโยง แหล่งเรียนรู้ เพื่อการใช้ประโยชน์ร่วมกัน ตลอดจนมีการพัฒนาทรัพยากรการเรียนรู้ที่มีอยู่ในสังคม ให้เป็นแหล่งการเรียนที่มีศักยภาพในการให้บริการการเรียนรู้มีความพร้อมด้านปัจจัยอำนวยความสะดวกต่อการเรียนรู
องค์ประกอบที่สาม : พัฒนาเนื้อหาสาระการเรียนรู้ องค์ความรู้โดยมีระบบการจัดหาและรวบรวมความรู้จากแหล่งต่าง ๆ ทังภายใน ภายนอก เพื่อเป็นการแสวงหาองค์ความรู้ที่ หลากหลายและมีประโยชน์สูงสุดต่อชุมชน พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดเก็บและค้นคว้าองค์ความรู้ได้อย่างรวดเร็ว สามารถใช้ประโยชน์ได้ทันเหตุการณ์ และที่สำคัญอย่างยิ่งคือ การสร้างสรรค์ องค์ความรู้ใหม่ ๆ ที่สอดคล้องกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคม โลกและบริบทของสังคมไทย โดยพัฒนาความรู้จากฐานของภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีอยู่เดิม บูรณาการกับฐานความรู้ด้านนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อให้เหมาะสมกับความสามารถในการเรียนรู้ของบุคคล กลุ่มหรือชุมชน เพื่อตอบสนองความต้องการพัฒนาของแต่ละชุมชน
องค์ประกอบที่สี่ : “การจัดการความรู้ โดยเริ่มต้นจากการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ที่ หลากหลาย พัฒนากลไกกระบวนการถ่ายทอดความรู้ ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงองค์ความรู้ได้อย่างเสมอภาค รวมทั้งการพัฒนาระบบบริหารจัดการใช้และเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้น ยังต้องส่งเสริมการสร้างบรรยากาศเพื่อเอื้อต่อการเรียนรู้ ให้เกิดขึ้นทุกหนทุกแห่งทั้งในครอบครัว องค์กร สถาบันและชุมชน ให้ประชาชนมีโอกาสเข้าสู่กระบวนการ เรียนรู้ตลอดเวลา และปัจจัยที่มีความสำคัญยิ่งต่อการจัดการความรู้ คือ ต้องมีการพัฒนาบุคคล องค์กร ให้เป็นผู้จัดการความรู้ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของประชาชน รวมทั้งการพัฒนาทักษะความสามารถ ในการถ่ายทอดความรู้ให้แก่ภูมิปัญญาท้องถิ่น และแหล่งเรียนรู้ประเภทต่าง ๆ ให้สามารถเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพและกระตุ้นให้ประชาชนมีการบูรณาการเพื่อใช้ความรู้เป็นฐาน ในการแก้ปัญหา และการพัฒนาที่เหมาะสมกับสภาพของชุมชน
การ เสริมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ต้องดำเนินการโดยยึดหลักการที่เชื่อว่า การศึกษา และการเรียนรู้เป็นกลไกสำคัญต่อการแก้ปัญหาและการพัฒนา มีการบูรณาการการเรียนรู้ การดำรงชีวิต และการประกอบอาชีพเข้าด้วยกันอย่างผสมกลมกลืน ยึดชุมชนเป็นฐานของการพัฒนากระบวนการเรียนรู้โดยใช้ศักยภาพและทรัพยากรในชุมชนเป็นหลักให้ประชาชนและทุกภาคส่วน ของสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดและตัดสินใจในกิจกรรมสาธารณะที่เกี่ยวข้องกับตนเองและชุมชนท้องถิ่น การสนับสนุนให้สังคมทุกส่วนและทุกระดับได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ และการสร้าง สภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ จะทำให้เกิดพลังชุมชนที่เข้มแข็ง อันจะเป็นรากฐานที่มั่นคง ในการเสริมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ที่มีความยั่งยืนตลอดไป (กุลธร เลิศชุริยะกุล, ม.ป.ป)
มาลี กลางประพันธ์ (2548) ได้สรุปว่าองค์ประกอบของสังคมแห่งการเรียนรู้ คือ คน เพราะในโลกยุคข้อมูลข่าวสารที่มีความหลากหลายและกว้างขวาง ไม่มีใครที่จะสามารถรู้ ทุกสิ่งทุกอย่างได้หมด ดังนั้น จึงเป็นงานท้าทายที่บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้ โดยเฉพาะ หน่วยงานหรือองค์กรในกระทรวงศึกษาธิการที่ต้องคัดสรรสาระที่จะให้บุคคลไต้ เรียนรู้อย่างเหมาะสม และมีคุณค่า มีการสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ที่เหมาะสมกับสภาพของแต่ละบุคคล มีความสามารถเลือกที่จะเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตลอดช่วงอายุขัย ยืดหยุ่น ตามความต้องการ ความสนใจ และความถนัด
นอกจากนี้ มาลี ไชยเสนา (2549) ได้สรุปลักษณะของสังคมแห่งการเรียนรู้ (Characteristic of the knowledge society) ว่ามี 4 องค์ประกอบ คือ 1) การพัฒนาทักษะความสามารถในการเรียนและการแสวงหาความรู้  2) การพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ 3) การพัฒนาสาระการเรียนรู้ให้เป็นองค์ความรู้ และ 4) การจัดการความรู้
          สรุปว่า ลักษณะของสังคมแห่งการเรียนรู้ ประกอบด้วย 1) เป็นสังคมที่มีทักษะความสามารถในการเรียนรู้และแสวงหาความรู้ 2) มีการพัฒนาแหล่งเรียนรู้อย่างหลากหลายและพอเพียง 3) มีการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ตามเนื้อหาสาระให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกโดยบูรณาการองค์ความรู้ภูมิปัญญากับความรู้สมัยใหม่ให้เหมาะสมกับบริบทของตนเอง และ 4) มีการจัดการความรู้ให้เป็นระบบเพื่อเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้ในทั้งระดับบุคคลเละองค์กร

กรอบแนวคิดการเรียนรู้
          ในบทนี้ให้ผู้เรียนทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ความหมายของข้อมูล สารสนเทศ ความรู้ และปัญญา  เน้นการทำความเข้าใจเกี่ยวกับชนิดของความรู้ ระดับของความรู้ ตลอดจนความสัมพันธ์ของข้อมูลสารสนเทศความรู้และปัญญา ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้

เอกสารอ้างอิง

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2546). คลื่นลูกที่ 5 ปราชญ์สังคม : สังคมไทยที่พึงประสงค์ในศตวรรษที่ 
         21. กรุงเะทพฯ : ซัคเซสมีเดีย.
มาลินี กลางประพันธ์. (2548). ซีดีรอมโมเดลสำหรับสังคมแห่งการเรียนรู้ : กรณีศึกษาอารยธรรม
         อียิปต์ วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น
มาลี ไชยเสนา (2549)
วิจารณ์ พานิช. (2548). 


สำนักงาน ก.พ.ร.และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ.  (2548).  การจัดการความรู้จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ.

         กรุงเทพฯ: สำนักงาน กพร.


Ackoff, R. (1989).  Data, Information, Knowledge and Wisdom.  [Online].  Retrieved 21

         May, 2013, from http://www.systemswiki.org/index.php? title=Data,_Information,_
         Knowledge_and_Wisdom
Data, information and knowledge.  (2010).  Anaesthesia & Intensive Care Medicine
         Volume 11, Issue 12, December 2010, Pages 505–506.  [Online].  Retrieved 24
         002353